ทัวร์ภูฏาน ดินแดนมังกรสายฟ้า
หลาย ๆ คนอาจจะไม่ไม่รู้จักฉายาของ ภูฏาน ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ในหุบเขาหิมาลัย มีพื้นที่ติดกับ อินเดีย และ ทิเบต ของจีน การเดินทางเข้าภูฏานไม่ได้ยากอย่างที่คิด เดี๋ยวนี้การไปทัวร์ภูฏานไม่มีจำกัดนักท่องเที่ยวแล้ว เมื่อก่อนจะไปภูฏานก็กลัวว่าจะไม่ได้ไปเพราะเป็นช่วงปลายปี กลัวติดโควต้านักท่องเที่ยว แต่จริงๆ ยกเลิกไปนานแล้ว
ค่าทัวร์ภูฏานสำหรับทัวร์ 5 วัน ก็ถือว่าราคาสูงเมื่อเทียบกับทัวร์ประเทศอื่น เนื่องจากภูฏานใช้นโยบาย High Value low Impact เหมือนเป็นการจำกัดนักท่องเที่ยวไปในตัว
ข้อมูลท่องเที่ยวภูฏาน
ในอดีต หนังสือการท่องเที่ยวภูฏาน ฉบับแปลไม่มีวางจำหน่าย มีแต่ฉบับภาษาอังกฤษ แต่ปัจจุบันมีวางขายแล้ว ซึ่งทำให้การศึกษาสถานที่เที่ยวต่างๆเป็นไปได้ง่าย ทำให้นักท่องเที่ยวมากมายหันมาสนใจและสามารถเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางสู่ภูฏานได้เป็นอย่างดี ทางเราจึงรวบรวมข้อมูลสำคัญมาให้ท่าน ก่อนเดินทางสู่ภูฏาน
ก่อนเดินทาง สิ่งสำคัญอย่างแรกคือ วีซ่า ถ้าไม่มีก็เข้าภูฏานไม่ได้ วีซ่าภูฏานใช้เวลาทำประมาณ 3 – 5 วันทำการ แต่ควรเผื่อเวลาไว้ในช่วง High Season
ค่าวีซ่าภุฏาน ราคา 40 USD ไม่ต้องติดต่อไปที่สถานทูต เพราะสถานทูตไม่รับทำวีซ่า บริษัททัวร์เท่านั้นที่จะทำวีซ่าให้ได้
ทำอย่างไรถึงจะได้วีซ่าทัวร์ภูฏาน ง่ายๆ แค่จ่ายเงินค่าทัวร์ครบก็ได้รับการอนุมัติวีซ่าแล้ว เอกสารที่ใช้ก็แค่สแกนหน้าพาสปอร์ตให้กับบริษัททัวร์ก็พอ เมื่อมีการโอนเงินไปทางภูฏาน และเงินนี้ได้เข้าไปที่บัญชีของการท่องเที่ยวภูฏาน การท่องเที่ยวภูฏานถึงจะอนุมัติวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยว
โดยปรกติ รัฐบาลให้เก็บเงินค่าทัวร์ขั้นต่ำที่ 200 USD ในช่วง Low Season และ 250 USD ในช่วง High Season อัตรานี้คิดต่อคืนที่เข้าประเทศ เงินจำนวนนี้ 65 USd เป็นค่า Royalty fee ซึ่งรัฐบาลจะนำไปพัฒนาประเทศ เหมือนเที่ยวแล้วได้ทำกุศลไปในตัว ที่เหลือจะเป้นค่าโรงแรม อาหาร ไกด์ รถ และค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว ถ้าท่านไปกับทัวร์ที่ราคาถูกลองคำนวนดูว่าจะได้ที่พักมาตราฐานแบบไหน และ อาหารจะเป็นอย่างไร
หลัง 20 มิถุนายน มีการเปลี่ยนกฏหมายการท่องเที่ยว ทำให้การทำวีซ่า และค่าใช้จ่ายการเดินทางไปทัวร์ภูฏานมีการเปลี่ยนแปลง
- ค่า SDF Sustainable Development Fee คนละ 200 USD ต่อคนต่อคืน ไม่รวมค่าทัวร์
- ตั้งแต่ 4 กรกฎาคม – 22 กันยายน นักท่องเที่ยวต้องทำการตรวจ RT-PCR เมื่อเดินทางถึงประเทศภูฏาน ค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต้องรับผิดชอบ และต้องจ่ายค่าโรงแรมและอาหารเองแต่ไม่ต้องจ่ายค่า SDF ถ้าผลเป็นลบก็สามารถเที่ยวต่อได้เลย
- ถ้าผลเป็นบวกต้องกักตัว 5 วัน และต้องจ่ายค่าโรงแรมและอาหารเองแต่ไม่ต้องจ่ายค่า SDF
- หลัง 23 กันยายน 2565 ท่านที่ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็มไม่ต้องตรวจ RT-PCR
- ค่าทัวร์จะไม่มีราคากรุ๊ป
- ราคาค่าเข้าชมสถานที่รัฐบาลยังไม่ได้กำหนดราคา
- บริษัททัวร์มีหน้าที่ขอ e-visa ให้นักท่องเที่ยวและไม่ต้องขออนุญาตในกรณีที่ออกนอกทิมพูอีกต่อไป
- ไม่มีราคาช่วง high season และ low season อีกต่อไป
การเดินทางเข้าสู่ภูฏาน
ในสมัยก่อนมีเพียงสายการบินเดียว คือ Druk Air Royal Bhutan Airline เป็นสายการบินแห่งชาติ ซึ่งเวลาบินจากกรุงเทพฯ ต้องนั่งฝั่ง A เพื่อที่จะได้เห็นวิว เทือกเขาหิมาลัย และ อาจจะได้เห็นยอดเขา Everest , Kanchenchungka , Jumolhari ถ้าอากาศดี ส่วนขากลับต้องนั่งฝั่ง F จะได้เห็นวิวภูเขา
ปัจจุบัน มีสายการบินเอกชนของภูฏานบินเข้าภูฏาน คือ Tashi Air หรือ Bhutan airlines
ทั้ง 2 สายการบิน ต้องแวะอินเดีย หรือ บังกลาทศ เพื่อเติมน้ำมัน ทั้งไป และ กลับ แต่ถ้าผู้โดยสารจะบินไป พาโร ทั้งลำ สายการบินอาจจะบินตรงได้ แต่ขากลับมากรุงเทพฯ ยังไงก็ต้องแวะ เติมน้ำมัน
สนามบินในภูฏานมีสนามบินนานาชาติ แห่งเดียวที่ พาโร แต่มีสนามบินภายในประเทศอีก 3 แห่ง คือที่ บุมทัง , เกเลฟู , และ ยงพูลา
ปัจจุบัน มีบินแค่ที่ บุมทัง , ยนพูลา และ เกเลฟู มีสายการบินเดียวภายในประเทศคือ Druk Air
Prima Connection Co.,Ltd. เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของสายการบิน Druk Air อย่างเป็นทางการ PSA แต่เราสามารถหาตั๋วของ Bhutan Airline ได้
พาโร ประตูสู่ ภูฏาน
พาโร จะมีสนามบินนานาชาติ ซึ่งมีแห่งเดียวของประเทศ ที่นี่จะไม่มีเครื่องบินขึ้นลงในยามกลางคืน หรือหลังพระอาทิตย์ตกดิน เนื่องจากไม่มีเครื่องนำร่อง นักบินต้องใช้สายตาอย่างเดียว Visual Flight และเนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาทำให้เที่ยวบินจากพาโร มากรุงเทพฯ ต้องแวะเติมน้ำมันที่อินเดียก่อน
พาโร มีประชากรประมาณ 30,000 คนเป็นเมืองเล็กๆ แต่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย
ปรกติเครื่องจะลงประมาณ 10.00 โมงเช้า เราก็สามารถเที่ยวพาโรได้เลย ระยะทางจากสนามบินถึงตัวเมืองก็ประมาณ 8 กิโลเมตร
ต้าซอง เป็นพิพิธภัณทสถานแห่งชาติ ในอดีต เป็นป้อมปราการตั้งอยู่เหนือ พาโรซอง ตัวอาคารต้าซองในปัจจุบันปิดซ่อมอยู่เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหว ทางการเลยใช้ อาคารที่อยู่ตรงกันข้ามสำหรับเป็นพิพิธภัณฑ์แทน ก่อนเข้าไปต้องฝากกล้อง และ โทรศัพท์มือถือ ก่อน เนื่องจากไม่อนุญาตให้นำเข้าไป ด้านใน จะมี ภาพทังก้า ซึ่งจะเป็นภาพทางพุทธศาสนา , มีหน้ากาก ซึ่งใช้ในงานเทศกาลต่างๆ ของแต่ละเมือง
พาโรซอง อยู่ด้านล่างของ ต้าซอง สร้างโดย ซับดรุง งาวัง นัมเกล ( Dzong ) เป็นป้อมปราการ จะเป็นศูนย์รวมของทั้งศาสนจักร และ ฝ่ายอาณาจักรเข้าด้วยกัน เมื่อเราเดินเข้าไปที่ซอง ทุกซอง ลองสังเกตดู ด้านนึงจะเป้นที่ทำการรัฐบาล อีกฝั่งจะเป็นที่พักสงฆ์ หรือเมื่อผ่านหอคอย หรือหอ อุทเซ ตรงกลางของซองก็จะเข้าสู่ส่วนของศาสนจักร พาโรซองใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำเรื่อง Little Buddha
วัดคิชู เป็นหนึ่งในสอง วัดที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ สร้างโดยกษัตริย์ซองเซน เกมโป ของทิเบต เพื่อใช้สะกดปีศาจ ตามจุดต่างๆ ทั้งหมด 108 จุด จุดที่ตรงกับหัวใจของปีศาจคือพระราชวังโปตาลา ในกรุงลาซา ของทิเบต ด้านในจะมีอยู่ 2 ส่วน วัดเก่าจะมีพระพุทธรูปอยุ่ด้านใน ไกด์บางท่านบอกว่าเป็นพระศรีอริยเมตไตร ส่วนอาคารใหม่จะเป็นรูปปั้นของกูรูรินโปเชขนาดใหญ่
นอกจกนี้ยังมีสถานที่น่าชมในเมืองพาโรอีกมากมาย เช่น
วัดดุงเช ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งอยู่ระหว่างทางจากในเมืองไปพาโรซอง ด้านในจะมีรูปภาพฝาผนังที่สวยงามและเก่าแก่ซึ่งทางวัดยังคงเก็ยรักาาไว้อย่างดี ตัววัดจะเป็น อาคาร 3 ชั้น ถ้าจะขึ้นไปด้านบนต้องปีนบันไดแคบๆขึ้นไป
ยอดเขาจูโมฮารี จากบริเวณทางขึ้นวัดตั๊กซังเลยไปประมาณ 5 – 10 นาที ก็จะเห็นวิวของยอดเขาจูโมฮารีอันสวยงามมีหิมะปกคลุม ซึ่งจะเห็นได้ก็ในช่วงหน้าหนาวที่ท้องฟ้าเปิด
จากพาโรเดินทางสู่ทิมพูเมืองหลวงใช้เวลาประมาณ 1 – 11/2 ชั่วโมง โดยผ่านทางสนามบิน และจะแวะที่วัดตัมโชก่อน
ตัมโชลาคัง หรือวัดตัมโช โดยปรกติเราจะแวะถ่ายรูปสะพานโซ่แห่งแรกที่สร้างโดยลามะ ทงเทนเกมโป พระรูปนี้ได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำไว้หลายแห่ง อีกที่ที่ยังหลงเหลืออยู่จะอยู่ที่ภาคตะวันออกของภูฏาน แถวเมืองตราชิกัง
ชูซอม จุดที่แม่น้ำมาตัดกัน ในสมัยก่อนเชื่อว่าบริเวณนี้มีปีศาจมากมาย จึงมีการสร้างเจดีย์ไว้ เจดีย์ที่นี่จะมี 3 องค์และ 3 แบบ คือแบบ ภูฏาน ทิเบต และเนปาล
ทิมพู เมืองหลวงของราชอาณาจักรภูฏาน เป็นเมืองหลวงที่ไม่มีสัญญาณจราจร เมืองในหุบเขาที่สวยงาม สถานที่ตั้งของหน่วยงานราชการ ต่างๆ
พรีมา คอนเนคชั่น ให้บริการทัวร์ภูฏานมาอย่างยาวนาน และเป็นบริษัทที่นำนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวภูฏานมากที่สุดในประเทศ ติดตามเราได้ทาง facebook