ศาสนาพุทธเดินทางมาถึงภูฏานได้อย่างไร
ดินแดนในเทือกเขาหิมาลัย ภูฏาน เป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนา และศาสนาพุทธเข้ามาที่ภูฏานได้อย่างไร
หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน ก่อนหน้านั้น พระอานนท์ได้ถามพระพุทะองค์ว่า หากพระองค์ไม่อยู่แล้วใครจะเป็นศาสดาแทนพระอค์ พระพุทธองค์จึงตัดตอบว่า คำสอนของเราจะเป็นศาสดาแทนเรา และสิกขาบทเล็กๆน้อยๆ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามกาลและเวลา
หลังจากนั้นเกิดปฐมสังคายนาขึ้นเพื่อรวบรวมคสอนของพระพุทธเจ้าให้เป็นหมวดหมู่ หลังจากนั้นผ่านมา 100 ปี เกิดเรื่องการโต้แย้งขึ้นเนื่องจาก พระภิกษุวัชชีบุตรถือวัตถุ 10 ประการ ซึ่งทำให้เกิดการพูดคุยกันในศาสนา ทางภิกษูชาววัชชีบุตรอ้างคำพูดที่ว่า สิขาบทเล็กๆน้อยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนทางพระรูปอื่นๆมองว่า สิขาบทใดคือสิขาบทเล็กๆน้อยๆ และในการปฐมสังคายนามีการสรุปว่าจะไม่มีการยกเลิกสิกขาบทใดๆทั้งสิ้น
จึงทำให้มีการเรียกพระกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับภิกษชาววัชชีบุตรว่า เถรวาทะ ซึ่งหมายถึง คำของผู้ใหญ่
จากนั้นภิกษุชาววัชชีบุตรก็กล่าวว่า ในบางครั้งก็มีการปฏิบัติตามอาจารย์ของตน และก็กำเนิดคำใหม่มาว่า อาจาริยวาทะ หมายถึง ถือตามครูบาอาจารย์
จากนั้นก็เกิดการสังคยานาครั้งที่ 2 ก็เกิดการแยกการสังคยานากันขึ้นระหว่าง สองแนวคิด และศาสนาพุทธก็ได้เกิดการแบ่งนิกายกันขึ้น โดยทางฝ่ายเถรวาทะ เรียกนิกายนี้ว่า สถวีระ ส่วนทาง อาจาริยวาทะ เรียกนิกายนี้ว่า มหาสังฆิกะ เนื่องจากมีผู้เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงสิงขาบทเล็กๆน้อยๆ มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
ดังนั้น มหาสังฆิกะ ถือได้ว่าเป็นจุดกำเนดของ มหายาน ทั้งสองฝ่ายก็ดำเนินการเผยแพร่ไปตามเส้นทางของตนเอง
จนมาถึงในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งนับถือศาสนาพุทธแบบสถวีระ และได้ทำการส่งพระธรรมทูตเผยแพร่ศาสนาไปยังที่ต่างๆ แต่หลังจากหมดยุคของพระองค์ ลูกหลานกลับถูกยึดโดยขุนนางต่างศาสนาและขุนนางคนนั้นได้เริ่มทำลายศาสนาพุทธ
แต่ศาสนาก็ไม่ได้หมดไปจากอินเดีย เนื่องจากในอดีตในยุคของพระเจ้า อเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยกทัพมาถึงอินเดียและจากไป พร้อมทั้งได้ทิ้งลูกหลานไว้ในดินแดนของประเทศปากีสถานในปัจจุบัน ได้มีพระมหากษัตริย์ซึ่งมีเชื้อสายกรีกนามว่า พระเจ้า เนมันเดอร์ ได้นับถือศาสนาพุทธแบบมหาสังฆิกะ
หลังจากหมดุคของพระเจ้าเนมันเดอร์ไปแล้วก็เป็นยุคของพระเจ้ากนิษกะ ได้นับถือหมาสังฆิกะ และทำการสังคยนาของมหาสังฆิกะขึ้น และได้ถือในช่วงนี้เป็นการกำเนิด มหายานอย่างแท้จริง เนื่องจากมีการวางหลักการของลัทธิและเรียกลัทธิว่า มหายาน
จากนั้น มหายานก็มีการแตกนิกายย่อยๆไปอีก
จนเกิดเป็นนิกายตันตระยานขึ้นมา ซึ่งไม่มีผู้ได้ทราบได้แน่ชัดว่าผู้ให้กำเนิดนิกายนี้คือผู้ใด และเมื่อไหร่ ได้แต่เดาๆกันไปว่า ตันตระยานอาจจะเกิดขึ้นมาจากการรวมเอาวิธีบูชาจากศาสนาฮินดูเข้ามาเพื่อดึงดูดผู้คนที่นับถือฮินดูในอินเดียให้เข้ามานับถือ มีการตีบทธรรมในรูแบบใหม่ให้ผู้คนไปถึงปลายทางได้ไวขึ้น
ผลปรากฏว่าลัทธินี้ได้รับความนับถือเป็นอย่างมากจนถึงมีการสอนในมหาวิทยาลัยนาลันทาเลยทีเดียว
ตันตระยาน เริ่มเข้าสู่ทิเบต และ ภูฏาน
จากนั้นตันตระยานก็ได้แพร่เข้าไปในทิเบต เนปาล ก่อน ภูฏาน และมีความโดดเด่นเป็นอย่างมากในทิเบต ในยุคของสมัย พระเจ้าซองเซม กัมโป ได้ประกาศเปล่ยนศาสนาของประเทศมาเป็น พุทธตันตระ แทนที่ศาสนาบอน ในราว พุทธศตวรรษที่ 13
นอกจากนั้นพระองค์ยังได้สร้างวัดอีก 108 แห่งเพื่อเป็นหมุดไว้ปักนางยักษ์ที่จะมาขัดขวางการเผยแพร่ศาสนาพุทธในหิมาลัย และมีสองวัดที่อยู่ในดินแดนของประเทศภูฏาน
นอกจากนั้นยังได้เชิญ คุรุปัทมสัมภวะ ซึ่งเป็นอาจารย์ในมหาลัยนาลันทาเข้ามาช่วยสอนศาสนา และคุรุปัทมะสัมภาวะยังได้ทำการแปลคำภีย์ตันตระมาเป็นภาษาทิเบตอีกด้วย
ศาสนาในภูฏาน
ต้องขออนุญาตเล่าเพิ่มเติมคือ ณ ตอนนั้นประเทศภูฏาน ยังไม่เกิดประเทศยังเป็นดินแดนห่างไกลแห่งหนึ่งของทิเบตอยู่ ภูฏานพึ่งมาเป็นประเทศจริงๆในราวๆ พุทธศตวรรษที่ 20 นี่เอง
ในขณะนั้นภูฏานมีผู้คนอยู่อาศัยแล้วแต่ก็ยังคงนับถือศาสนาบอนอยู่ แต่การมาของ คุรุปัทมะสัมภวะ นั้น พระองค์ได้นำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนภูฏานในปัจจุบันด้วย และเมื่อภูฏานเป็นประเทศทำให้ชาวภูฏานนั้น นับถือพระองค์เป็น พระพุทธเจ้าองค์ที่สองเลยทีเดียว
สรุป
ก่อนเดินทางไปเที่ยวหรือเยือนภูฏาน ขอแนะนำเรื่องศาสนาของประเทศภูฏาน เพราะดินแดนภูฏานเป็นราชอาณาจักรที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
เราสามารถเลือกเดินทางไปภูฏานแบบหมู่คณะหรือว่าเดินทางเองได้
พรีมา คอนเนคชั่น ให้บริการทัวร์ภูฏานมาอย่างยาวนาน และเป็นบริษัทที่นำนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวภูฏานมากที่สุดในประเทศ ติดตามเราได้ทาง facebook