เกาะบาหลี ทัวร์บาหลี แพคเกจบาหลี
ทัวร์บาหลี เป็นอีกหนึ่งทัวร์ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวเกาะบาหลีมากที่สุด บาหลีไม่ใช่แค่เกาะ ๆ หนึ่งที่มีองค์ประกอบเป็นทะเลฟ้าครามที่สวยงาม แต่เกาะบาหลีนั้นมีประวัติศาสตร์ที่มาพร้อมกับความเชื่อของผู้คนในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
เกาะล้านวัด เกาะบาหลี เที่ยวบาหลี
ก่อนมาเที่ยวบาหลี ควรทราบว่า โลกของคนเกาะบาหลีส่วนมากเกิดจาก หน้าที่ทางสังคมกับภารกิจทางศาสนา มีคำกล่าวว่าบาหลีคือเกาะล้านวัดเนื่องจากทุกบ้านจะมีวัดไว้บูชาเป็นของตนเอง เด็กบาหลีเป็นสมาชิกในสังคมที่ได้รับอภิสิทธ์ โดยความเชื่อที่ว่าเด็กยิ่งมีอายุน้อยเท่าไหร่วิญญาณก็ยิ่งบริสุทธิ์เท่านั้น เด็กแรกเกิดถือเป็นสิ่งศักสิทธ์ เพราะพึ่งเดินทางมาสู่โลกมนุษย์จากโลกแห่งวิญญาณ ทารกไม่สามารถสัมผัสพื้นดินจนกว่าจะมีอายุครบ 210 วัน หลังจากครบ210วันจะมีการจัดพิธีเซ่นสรวงต่อ วิญญาณ และหลังจากนั้นเด็กทารกจึงจะสามารถสัมผัสพื้นดินได้ พ่อแม่ชาวบาหลีไม่นิยมตีบุตรของตนเองเนื่องจากเชื่อว่าการตีจะเป็นการทำร้ายวิญญาณอันบอบบางของเด็กแต่จะใช้วิธีการสอนให้เด็กรู้จักเคารพตนเองและผู้อื่น เมื่อเด็กเติบโตเป็นวัยรุ่น สำหรับเด็กผู้หญิงที่มาจากวรรณะสูงเมื่อเริ่มแตกเนื้อสาวแล้วต้องแยกตนออกไปทำพิธีเพื่อต้อนรับความเป็นสาวเต็มตัว โดยการแยกตัวออกไปอยู่ผู้เดียวเพื่อชำระร่างกาย 3 วัน ก่อนจะกลับออกมาในชุดผ้ายกดอกสีทองและมงกุฎดอกไม้เพื่อรับศีลบริสุทธิ์จากนักบวช และจะตามด้วยการเชื่อมฟันทั้งสำหรับเด็กหญิงและเด็กชาย พิธีนี้ทำขึ้นเพื่อลดความมักมากในกาม ความละโมบ โทสะ มัวเมา โง่เขลา และความอิจฉา ซึ่งตามความเชื่อของบาหลีในตัวมนุษย์มีความชั่วร้าย 6 ชนิด โดยผู้เชื่อมฟันทั้ง 6 ให้เป็นเส้นตรงคือนักบวช หลังจากผ่านพิธีเชื่อมฟันเรียบร้อยแล้ว ชาวบาหลีเชื่อกันว่า เด็กเหล่านี้จะหลงไปหาความชั่วร้ายน้อยลง
การมาเที่ยวบาหลี ชมการแต่งงานบนเกาะล้านวัด เกาะบาหลี
บางท่านอาจจะได้เคยมาเที่ยวบาหลี และได้ทราบเรื่องการแต่งงานบนเกาะล้านวัด เกาะบาหลี สำหรับวัยแต่งงานของ สาวบาหลีจะเฉลี่ยอยู่ที่ 20 – 25 ปี ส่วนผู้ชายจะอยู่ที่ 25 – 30 ปี การสืบสายตระกูลถือเป็นภาระที่สำคัญมากที่สุด ผู้ชายที่สามารถเข้าร่วมกลุ่มของชุมชนได้จะต้องผ่านการแต่งงานมาแล้วเท่านั้น รูปแบบสำหรับการแต่งงานที่นิยมมากที่สุดคือการแต่งงานแบบมะเปดิค (Mapedik)กล่าวคือ ฝ่ายชายยกขันหมากไปขอฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในงานแต่งงานทั้งหมด นอกจากการแต่งงานแบบ มะเปดิคแล้วนั้นยังมี พิธีที่แปลกอยู่อีกหนึ่งประเภทนั่นคือ การแต่งงานแบบ โกรรอด (Ngrorod) คู่รักจะนัดแนะกันหนีไปยังบ้านของคนที่ทั้งสองสนิท เมื่อถึงวันนัดฝ่ายชายจะแอบลักพาตัวฝ่ายหญิง เมื่อลักพาตัวไปแล้วนั้น ครอบครัวฝ่ายหญิงจะต้องแกล้งทำเป็นกระวนกระวายใจ พ่อของฝ่ายหญิงต้องออกตามหาลูกสาวทุก ๆ บ้านจนถึงเวลาอันสมควรจึงไปบ้านที่ได้นัดแนะกันไว้แล้ว หลังจากนั้นพิธีขอขมาและวิวาห์ก็จะเกิดขึ้น สำหรับการหย่าร้างฝ่ายชายแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ของหมู่บ้านที่ตนเองอยู่ และแยกย้ายกัน โดยส่วนมากบ้านทางฝ่ายชายจะเป็นผู้ดูแลลูก ในสังคมบาหลีการหย่าร้างมีน้อยมาก ความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสำหรับชาวบาหลี ความตายคือการเดินทางของวิญญาณไปสู่สวรรค์ ศพจะเก็บไว้ที่บ้านเพื่อให้ แขกมาเยี่ยมเยือน และเมื่อได้วันเหมาะสมจะนำศพไปฝังในสุสานของหมู่บ้าน และรอวันเผาซึ่งต้องดูตามฤกษ์ บางศพต้องรอการเผาเป็นปี หรือสองปี การเผาศพคือการส่งมอบกายกลับสู่พื้นฐานห้าประการ คือ ลม น้ำ ดิน ไฟ และโลหะ พิธีการเผาศพ วิญญาณจะถูกนำมาจากสุสานโดยเชิญผ่านหุ่นจำลอง เช้าและเที่ยงเจ้าภาพจะเลี้ยงน้ำแขกผู้มาร่วมไว้อาลัย ในงานจะมีดนตรีกาเมลันประกอบ (ดนตรีพื้นบ้านของบาหลี) เมื่อดนตรีรัวจังหวะเพื่อเป็นสัญญาณในการนำศพออกจากบ้าน แขกผู้ชายทุกคนจะรีบเร่งเข้าไปมีส่วนร่วมในการนำศพออกมาถือเป็นการแสดงความเคารพต่อศพ หุ่นจะถูกนำไปไว้บนหอไม้ที่ประดับประดาอย่างสวยงาม มีฐานที่เป็นรูปเต่าที่มีพญานาค สองตนพันอยู่โดยรอบ หอไม้หมายถึงจักรวาร ส่วนเต่าและพญานาคหมายถึงฐานของโลก หีบศพจะเป็นรูปสัตว์ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับชั้นวรรณะต่าง ๆ ขบวนแห่ศพจะใช้แขกผู้ชายที่มาร่วมงานในการแบกไปยังที่เผาศพ หุ่นจำลองจะถูกย้ายไปยังหีบศพซึ่งเป็นที่บรรจุศพขึ้นมาจาก
สุสาน นักบวชเริ่มประกอบพิธีและเริ่มเผา หลังจากศพเป็นเถ้าธุรี อับฐิจะถูกนำไปลอยอังคาร เป็นอันจบพิธีเผาศพ เมื่อผ่านไปได้ 12 หรือ 14 วันจะมีการทำบุญเลี้ยงศพและอีก 10 ปีจะจัดเป็นครั้งที่ 2
เราอยากจะให้ท่านได้ลองไปเที่ยวบาหลี กับ แพคเกจบาหลีได้หลายช่วงเวลาพร้อมสัมผัสเกาะบาหลีซักครั้ง นอกจากท่านจะได้ชมธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ท่านยังจะได้ทราบถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวบาหลีอีกด้วย
พรีมา คอนเนคชั่น ให้บริการทัวร์บาหลีมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ติดตามเราได้ทาง facebook
ข้อมูลการติดต่อ
Address : เลขที่ 216/41 ซิตี้ลิ้ง พระราม 9
ถนน กาญจนาภิเษก แขวงทับช้าง
เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10250
Phone : 02-001-4156
Email : [email protected]