ตำนานบาหลี ก่อนไปทัวร์บาหลี เที่ยวบาหลี
บาหลี เกาะเล็กๆ ของอินโดเนเซีย มีเรื่องเล่า มีตำนานมากมาย ก่อนไปทัวร์บาหลี เที่ยวบาหลี ขอเล่าตำนานที่แตกต่างออกไป ตามความเชื่อทางศาสนา
บาหลี มีพื้นที่ประมาณ 5,620 ตารางกิโลเมตร มีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับถึง 2 ลูก (ในอินโดนนีเซียมีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับทั้งสิ้น 4 แห่ง) ร้อยละ 95 เปอร์เซ็นต์ ของชาวเกาะบาหลี นับถือศาสนาฮินดู ตามตำนานการเกิดเกาะบาหลีเล่าไว้ว่า นักบวชชาวชวารูปหนึ่งถูกกดดันให้อัปเปหิบุตรชายขี้เมาของตนให้ออกจากบาหลี ซึ่ง ณ ตอนนั้นบาหลียังเป็นส่วนหนึ่งของเกาะชวา หลังจากนั้นนักบวชจึงแสดง อิทธิฤทธิ์ โดยการใช้ไม้ขีดเส้นและแบ่งบาหลีออกจากเกาะชวา (ช่องแคบที่กั้นระหว่างสองเกาะกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร และมีความลึกระหว่างช่องกั้น ลึกที่สุดเพียง 60 เมตร) บาหลีเป็นเกาะที่มีสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อน เนื่องจากตัวเกาะบาหลีตั้งอยู่ใกล้เส้น ศูนย์สูตรเพียง 8 องศา ซึ่งทำให้ เกาะบาหลีมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม) นอกจากนั้นจะเป็นฤดูแล้งที่อากาศอุ่นสบาย
ทัวร์บาหลี เที่ยวบาหลี ตามประวัติศาตร์แห่งเกาะบาหลี
ก่อนเดินทางไป ทัวร์บาหลี เที่ยวบาหลี ต้องขอเล่าเรื่องในอดีตย้อนกลับไป ประมาณหนึ่งหมื่นปี บาหลีมีผู้คนอาศัยอยู่เพียงกลุ่มเล็กๆ หากินด้วยการ เก็บพืช ล่าสัตว์ป่า ต่อมาในยุคสัมฤทธิ์ประมาณ 300 ปีก่อน ค.ศ. ผู้คนเริ่มรวมตัวกันเป็นหมู่บ้านและรู้จักการพัฒนาอุปกรณ์ใช้สอยซึ่งเดิมทำจากหินมาเป็นเหล็กและสัมฤทธิ์ วัฒนธรรมแรกที่เข้ามามีบทบาทในบาหลีคือ วัฒนธรรมอินเดีย นั่นคือ ศาสนาฮินดูและพุทธ ซึ่งเข้ามาโดยการค้าขาย และสังคมบาหลีเริ่มมีการนำความคิด เกี่ยวกับ เทวราช เข้ามาใช้ในการปกครองประชาชนให้อยู่อย่างสงบสุข จากการเปลี่ยนแปลงนี้บาหลีได้กลายเป็น สังคมที่มีวัฒนธรรมอินเดียเป็นเครื่องชี้นำ ล่วงมาถึงประมาณปี ค.ศ. 990 วัฒนธรรมอินเดียกลายมาเป็นวัฒนธรรมสำคัญในบาหลี ปี ค.ศ.991 ณ อาณาจักรมะจะปะหิต เป็นปีที่ไอร์ลังกา (Airlangga) โอรสของกษัตริย์มะดะยะนะวาร์เดวา (Dharmodayanawar Madewa) หรือ อุดะยะนา (Udayana) ได้ทรงประสูติ เมื่อโตขึ้นไอร์ลังกาได้ถูกส่งไปศึกษาที่ชวา และหลายปีต่อมาเกิดเหตุการณ์กษัตริย์ชวาถูกโค่นล้ม ไอร์ลังกาจึงได้รับการกราบบังคมทูลให้เป็นผู้ครองบัลลังก์องค์ต่อมา พระองค์(ไอร์ลังกา) ได้รวบรวมแผ่นดินชวาเป็นปึกแผ่นรวมทั้งบาหลีด้วย และอาณาจักรมะจะปะหิตปกครองเกาะบาหลีมาจนถึง ปี ค.ศ.1515 ก็ล่มสลายลง โดยราชวงศ์มะตะราม (Mataram) และถูกแทนที่โดยระบบการปกครองแบบ สุลต่าน ดังนั้นชาวฮินดูส่วนมากจึงอพยพจากเกาะชวาสู่บาหลี จึงทำให้วัฒนธรรมฮินดูกลายมาเป็นวัฒนธรรมหลักของเกาะบาหลี
ในปี ค.ศ.1515 เป็นช่วงเวลาที่บาหลีเริ่มก้าวเข้าสู่ยุคทองของตัวเอง โดยส่วนหนึ่งของราชวงศ์มะจะปะหิต นามว่า บะตูเริงกอง (Batu lengkong) ทรงขยายอำนาจจาก เกลเกล ในบาหลี (Gel gel) สู่ บลัมบังกัน ใน ชวากลาง (Blambangan) และเกาะลอมบอค (Lombok)
ในปี ค.ศ.1588 บาหลีต้องเผชิญหน้ากับชาวยุโรป (โปรตุเกส) เป็นครั้งแรก โปรตุเกสส่งเรือที่มีทั้ง ทหาร พ่อค้า วัสดุก่อสร้าง และสินค้ามายังบาหลี จากท่าเรือของตนเองในมะละกา โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างป้อมปราการและเปิดฐานการค้าบนเกาะบาหลี แต่ก่อนเรือเทียบฝั่งเรือได้ชนเข้ากับแนวประการัง เป็นเหตุให้มีผู้รอดชีวิตมาเพียง 5 คนเท่านั้น ทั้ง 5 ผู้รอดชีวิตถูกส่งเข้าวังและได้สมัครใจรับใช้กษัตริย์แห่งบาหลี
ในปี ค.ศ.1600 คอร์เนลิส เด ฮูตตัน (Cornelis de houtman) นักสำรวจชาว ฮอลแลนด์ได้เดินทางมาถึง ภูมิภาคแห่งมหาสมุทรอินเดียตะวันออก เมื่อลงเรือจอดเทียบฝั่งที่เกาะบาหลี มีสมาชิกจำนวน 4 คนนำโดย อาร์โนลดท์ ลินท์เกนส์ (Arnouldt Lintgens) พวกเขาประพฤติตนอย่างสุภาพและให้ความเคารพในวัฒนธรรมของชาวบาหลี พวกเขามีความประทับใจเป็นอย่างมากในความสวยงามของบาหลี และได้บรรยายเกี่ยวกับลักษณะของราชสำนักบาหลีไว้ ดังนี้ กษัตริย์มีพระชนน์มายุราว 40 พรรษา พระวรกายล่ำสันสูงใหญ่ ผิวสีเข้ม มีความกระฉับกระเฉง และ มีอำนาจ เป็นอย่างมาก กษัตริย์ทรงพำนักอยู่ในพระราชวังขนาดใหญ่แห่ง เกลเกล ซึ่งเป็นเมืองในแนวกำแพง พระองค์มีมเหสีและสนมราว 200 นาง คนแคระ 50 คน และมีประชาชนราว 3 แสนคน นอกจากนั้นยังมีสมบัติล้ำค่าอีกมากมาย ในการเสด็จออกจากพระราชฐานนั้น จะต้องมีขบวนผู้ตามเสด็จพร้อมหอกและธงทุกครั้ง กษัตริย์จะประทับอยู่บนราชรถซึ่งมีวัวสีขาวคู่หนึ่งลาก
ในปี ค.ศ.1601 การเดินทางครั้งที่สองของชาวฮอลแลนด์นำโดย จาคอบ แวนเฮม สเคิร์ค (Jacob van Heemskerck) เดินทางมาเพื่อขอทำการค้ากับบาหลีและกษัตริย์ก็ทรงอนุญาติ ในปี ค.ศ. 1639 หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ปี ยุคทองของ เกลเกล ก็เริ่มทดถอยในยุคของ กษัตริย์เบอคุง (Raja Bekung) นำทัพบุกบลัมบังโดยไม่มีเหตุผลจึงทำให้ มะตะราน (Mataram) ตัดสินใจเข้าโจมตีบาหลีอย่างหนัก ราชาเบอคุงสูญเสียอำนาจ และความเชื่อใจ ดังนั้นผู้ครองบัลลังก์องค์ต่อมาจึงย้ายราชธานีจากเกลเกล ไปสู่ คลุงคุง (Klung kung) และขึ้นครองราชย์ในนาม เดวาอะกุง (Dewa agung) เนื่องจากกษัตริย์องค์ก่อนอ่อนแอ จึงทำให้เจ้าฟ้าหลายคนแยกตัวออกเป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อราชสำนักอีกต่อไป ในช่วงความขัดแย้งอย่างหนัก เวาอะกุงและซุซุนัน (Susuhunan) ทางบาหลีจึงได้ขอความช่วยเหลือจากฮอลแลนด์ แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ แม้ว่าฮอลแอลนด์จะไม่ช่วยแต่อังกฤษไม่เป็นเช่นนั้น อังกฤษสนับสนุนอาวุธ,เสบียงให้กับบาหลี และยังมีการค้าขายทาสกันอีกด้วย จึงทำให้การค้าขายของฮอลแอนด์ในบาหลีเริ่มแย่ลง
ในขณะที่อำนาจของ เดวาอุกุงลดลง ราชอาณาจักรในบาหลีที่แยกตนเป็นอิสระก็เริ่มมีอำนาจมากขึ้น และอาณาจักร เกียนยาร์ (Gianyar) ก็คืออาณาจักรที่รุ่งเรื่องที่สุด ผู้ก่อตั้งราชวงศ์เกียนยาร์คือ เดวามังกีซคุนิง (Dewa Manggis Kuning) หรือรู้จักกันในนาม เดวามังกีซที่ 1 (เดวา แปลว่าเทพ , มังกีซ แปลว่ามังคุดซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์) ซึ่งครองความยิ่งใหญ่ต่อมาจนถึง ปะมาณปี ค.ศ. 1830 เนื่องจากฮอลแลนด์ไม่สามารถตกลงเรื่องนโยบายต่างชาติกับบาหลีได้ จึงเลือกวิธีการส่งคนมาแทรกแซง และใช้กำลัง โดยอ้างเรื่องเรือฮอลแลนด์ซึ่งมีชื่อว่า โอเวรีสเซล (Overijssel) ซึ่งล่มบริเวณแนวประการัง คูต้า (Kuta) และการปล้นสินค้าจากเรือโดยชาวบาหลี เป็นข้ออ้าง ในปี ค.ศ.1846 ฮอลแลนด์ส่งเรือรบ 58 ลำ และกองทหาร 3 พันกองมายังบาหลี และสามารถรบชนะได้อย่างง่ายดายโดยเสียทหารไปเพียง 18 นายเท่านั้น แต่บาหลีกับได้รับในสิ่งตรงข้ามคือสูญเสียและเสียหายอย่างหนัก การจู่โจมครั้งที่สองเกิดขึ้นใน ปีค.ศ.1848 โดยเพิ่มกำลังทหารเป็นเท่าตัว แต่เนื่องจากครั้งนี้บาหลีเคยมีประสบการณ์แล้วจึงได้ทำการตั้งรับ โดยตั้งปืนใหญ่ 25 กระบอก และกำลังทหาร 16,000 นาย ในการตั้งรับ ฮอลแลนด์สูญเสียกำลังพลไปเป็นอย่างมากในการบุกโจมตีทั้ง 3 ครั้ง จนถึงการต่อสู้ครั้งสุดท้ายในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1849 ฮอลแอลนด์เตรียมบุกโจมตีขั้นแตกหักแต่ต้องประหลาดใจเมื่อพบกองทัพของบาหลีไม่ได้แต่งกายสำหรับออกรบ กษัตริย์และทหารใส่โสร่งสีแดงสดพร้อมกับกริชใหญ่สะพายหลัง การแต่งกายเช่นนี้คือการแต่งกายเพื่อทำพิธี ปุปุตัน (Puputan) คือการฆ่าตัวตายนั่นเอง ในครั้งนี้ฮอลแลนด์ยึดได้ส่วนเหนือของเกาะบาหลีพร้อมครอบครองโดยสิ้นปี ค.ศ.1850 ฮอลแอนด์ยึดได้ซึ่งบาหลีตะวันตก ปีค.ศ.1900 ยึดได้ซึ่งเกียนยาร์ และยึดเรื่อยมาจนถึง วันที่ 18 เมษายน ค.ศ.1908 เป็นวันที่ฮอลแอนด์ได้รับชัยชนะทั่วทั้งเกาะบาหลีและเป็นการสิ้นสุด อาณาจักรมะจิปะหิค ที่ปกครองบาหลีมากว่า 600 ปี เนื่องจาก ฮอลแลนด์มีนโยบายในการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของเกาะบาหลี ทำให้เกิดการรักษาและฟื้นฟูวัฒนธรรมและธรรมเนียมต่างๆของบาหลีไว้เป็นอย่างดี จึงถือได้ว่าในช่วงนี้แม้บาหลีจะเป็นเมืองขึ้นของฮอลแลนด์แต่ก็มีความรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านศิลปะ วัฒนธรรม ในยุคแรกๆของศตวรรษที่ 19 บาหลีเริ่มถูกให้ความสนใจจาก นักมนุษยวิทยา นักโบราณคดีศิลปิน นักดนตรี และอื่นๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะศิลปินที่รักในธรรมชาติของบาหลี แต่แล้วในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1942 กองทัพญี่ปุ่นส่งทหาร 500 กองขึ้นเกาะบาหลีและรบชนะฮอลแลนด์ในลำดับต่อมา พร้อมยึดพื้นที่บาหลีทางเหนือมาจากฮอลแลนด์ได้ เพียง3 ปีต่อมา ญี่ปุ่นก็พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.1945 ซูการ์โน (Soekarno) และโมฮัมเมด ฮัตตา (Mohammed hatta) ได้ประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย แต่ขณะนั้นฮอลแลนด์ยังคงถือสิทธิ์ในการปกครองบาหลีอยู่ ด้วยเหตุการณ์นี้ได้เกิดบุรุษผู้สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับบาหลี และต่อมาใช้เป็นชื่อของสนามบินบาหลีนั่นคือ กุซตี นกุราห์ไร (Gusti Ngurah rai) วิรบุรุษที่ใช้กลยุทธจากไสยศาสตร์ แทนการวางแผน คำขวัญอันโด่งดังของเขาคือ เสรีภาพหรือความตาย เขาได้ก่อตั้งหน่วยความปลอดภัยของประชาชนในยุคนั้น หรือเรียกว่า เตนตะราเคียมะนันระเคีต (Tentara Keamana Rakyet) เขานำทัพของเขาสู่ภูเขาศักสิทธิ์กุนุงอากุง (Gunung Agung) พวกเขาซุ่มตัวอยู่ในกำบังบริเวณสันเขาของภูเขาศักสิทธิ์แห่งนี้กองทัพฮอลแอลนด์รู้เท่าทันถึงแผนการจึงได้โอบล้อม แต่พวกเขาก็เอาตัวรอดจากเหตุการณ์นั้นมาได้โดยการปีนหลบหนีข้ามยอดภูเขาไฟ และเดินผ่านพื้นที่ภูเขาสาหัสสากรรจ์ แต่พวกเขาก็ต้องโดนล้อมอีกครั้งหนึ่ง พวกเขาได้รับข้อเสนอให้ยอมแพ้ แต่พวกเขาไม่ยอม พวกเขาเลือกที่จะทำปุปุตัน และสถานที่บริเวณนั้นปัจจุบันคือ สุสานวีรบุรุษแห่งชาติ (national heroes’ cemetery) ด้วยเหตุการณ์นี้การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านฮอลแลนด์เริ่มรุนแรงขึ้นพร้อมทั้งแรงกดดันจากประเทศพันธมิตรของฮอลแลนด์และสหประชาชาติ จึงทำให้ในที่สุดบาหลีกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ อินโดนนีเซีย ในปี ค.ศ.1949 จนถึง ปัจจุบัน
ทัวร์บาหลี เที่ยวบาหลี มีอะไรให้ชม
สำหรับ “บาหลี” ที่นี่เต็มไปด้วยสถานที่สวย ๆเหมาะสำหรับมาทัวร์บาหลี เที่ยวบาหลี มีสถานที่มากมายให้เราได้มาค้นพบทั้งแนววัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เช่น วัดต่าง ๆ และก็แนวธรรมชาติ ที่เน้นป่าไม้ ภูเขา และก็ท้องทะเลสวย ๆ ทุกอย่างที่บาหลี สวยงาม และ ลงตัวสุด ๆ มั่นใจด้วยว่าหลาย ๆ ท่าน อยากไปสัมผัสเมืองแห่งมนต์สะกดแห่งนี้แน่นอน และบาหลีก็ยังสามารถมาเที่ยวบาหลีได้ด้วยตนเองอีกด้วย
เราอยากจะให้ท่านได้ลองไปเที่ยวบาหลี ไปสัมผัสเกาะบาหลีซักครั้ง นอกจากท่านจะได้ชมธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ท่านยังจะได้ทราบถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวบาหลีอีกด้วย
ข้อมูลการติดต่อ
Address:เลขที่ 216 / 41 ซิตี้ลิ้ง พระราม 9
ถนน กาญจนาภิเษก แขวงทับช้าง
เขตสะพานสูง กรุงเทพ ฯ 10250
Phone : 02-001-4156
Email : [email protected]
พรีมา คอนเนคชั่น ให้บริการทัวร์บาหลีมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ติดตามเราได้ทาง facebook