สถานที่ห้ามพลาด ทัวร์ศรีลังกา
เที่ยวศรีลังกาหนึ่งในดินแดนอารยธรรมมรดกโลก สถานที่ห้ามพลาดทัวร์ศรีลังกา เมื่อมาเยือนศรีลังกา เนื่องจากมีเมืองที่เป็นมรดกโลกอยู่หลายแห่ง เกาะเล็ก ๆ ที่คงความอุดมสมบูรณ์จนได้ชื่อว่า “ไข่มุกแห่งตะวันออก” (Pearl Of the Orient ) นอกจากความเป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนาแล้ว ศรีลังกายังมีเอกลักษณ์ทางด้านท่องเที่ยวที่แตกต่างทั้งด้านสุขภาพ ซึ่งมีศาสตร์อายุรเวชที่สืบสานมายาวนาน รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่งดงามและบริสุทธิ์
เมื่อมาเยือนศรีลังกาแล้วมีสถานที่ห้ามพลาด ทัวร์ศรีลังกา อะไรบ้าง
ลองไปดูกันว่า เมื่อมาเยือนศรีลังกาแล้ว มีสถานที่ห้ามพลาด ทัวร์ศรีลังกา ที่ไหนบ้างที่ห้ามพลาด เป็นการรวบรวมสถานที่สำคัญต่าง ๆ มาแนะนำ เมื่อมีโอกาสไปเยือนควรเที่ยวให้ครบ
สักการะต้นศรีมหาโพธิ์ที่อนุราธปุระ
เมืองอนุราธปุระ เมืองหลวงแห่งแรกของประเทศศรีลังกา เป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมากว่า 1,300 ปี ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 และได้รับการยกให้เป็นเมืองมรดกโลก จากองค์การยูเนสโก ในปี ค.ศ. 1982 เมืองนี้มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพราะพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ที่ไทยรับเข้ามาในสมัยนั้น มีต้นกำเนิดมาจากเมืองอนุราธปุระ
เมืองอนุราธปุระ เคยเป็นเมืองหลวงของประเทศศรีลังกาอยู่นานถึง 1,500 ปี เมืองนี้ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวอนุราธ ซึ่งหมายถึง ความมั่นคง,ความมั่งคั่ง และสมบูรณ์พูนสุข
มาถึงเมืองอนุราธปุระแล้ว ต้องเข้าไปกราบนมัสการ “พระมหาเจดีย์รุวันเวลิสาย” (RUVANVELI) หรือที่เรียกว่า พระเจดีย์สุวรรณมาลิก ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นต้นแบบพระเจดีย์ทรงโอคว่ำ สีขาวสะอาดตา เจดีย์แห่งนี้ถือเป็นต้นแบบของการสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม รอบกำแพงยังมีช้างปูนปั้น 362 เชือก ซึ่งเป็นต้นแบบของเจดีย์วัดช้างล้อม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
อีกจุดหนึ่งคือ “เจดีย์ถูปาราม” ที่ประดิษฐานกระดูกพระรากขวัญ(ไหปลาร้า)เบื้องขวาของพระพุทธเจ้า และมีพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มทั้งสี่ทิศ ซึ่งเป็นอีกจุดที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกเดินทางเข้ามากราบสักการะเพื่อเป็นสิริมงคล
และที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งได้ประดิษฐานมาตั้งแต่เมื่อครั้งสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชราว 2,200 ปีมาแล้ว เป็นหน่อที่พระนางสังฆมิตตาเถรี พระภิกษุณี อดีตราชธิดาพระเจ้าอโศกมหาราช ได้มาจากตำบลพุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นหน่อที่แยกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นแรกที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับนั่งบำเพ็ญตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ และนำมาปลูกไว้ที่นี่เมื่อปี พ.ศ.235 ถือว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้เป็นต้นไม้ที่มีอายุนานที่สุดในโลก ที่กินเนสบุ๊คได้ทำการบันทึกไว้
ชมวังเก่าเมืองโปโลนนารุวะ
โปโลนนารุวะ เป็นอดีตเมืองหลวงแห่งที่สองของศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 16 –17 (ยุคก่อนสมัยสุโขทัย ) อาณาจักรโบราณแห่งราชวงศ์โปโลนนารุวะ ภายใต้การปกครองของพระเจ้าวิชัยพาหุที่หนึ่ง ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบของอาณาจักรสุโขทัย ภายในเมืองนี้มีศาสนสถานที่มีงดงามทางสถาปัตยกรรม ด้วยพุทธศิลป์ของลังกาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในอดีตเป็นเมืองหลวงที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก อีกทั้งยังมีชัยภูมิที่ยากต่อการโจมตีของศัตรู
จุดสำคัญๆ ของเมืองโปโลนนารุวะ คือ กลุ่มโบราณสถานซึ่งเคยเป็นพื้นที่ของพระราชวัง ซึ่งอยู่ในส่วนของเมืองเก่า ทางตอนเหนือของโปโลนนารุวะ เช่น เวชยันต์ปราสาท วังสูง 7 ชั้น แต่ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียง 3 ชั้นเท่านั้น ในบริเวณเดียวคือพื้นที่ของวังและท้องพระโรง รวมทั้งสระสรงน้ำสำหรับพระราชินี ซึ่งใช้เพื่อเกษมสำราญเท่านั้น
วัฏฏะทาเคหรือวิหารคตวงกลม ลักษณะสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่น จากวิหารที่ทำเป็นวงกลม 2 ชั้น สร้างด้วยหินแผ่นเป็นหลัก บนฐานชั้นบนมีสถูปอยู่ตรงกลางรายรอบ 4 ด้านด้วยพระพุทธรูปทรงสมาธิ นับเป็นวัดที่มีความงดงามมาก
นอกจากนั้นยังมีจุดเที่ยวชมอีกหลายแห่ง เช่น ศิลาจารึก ที่คาดว่าจะมามาจากเมืองอนุราธปุระ กัลวิหาร หรือ วิหารหิน จากการแกะสลักหินขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูปในแบบต่าง ๆ ซึ่งล้วนมีความงดงามและน่าทึ่ง
พระราชวังลอยฟ้าสีกิริยา
สีกิริยา เป็นอีกหนึ่งเมืองมรดกโลกทางตอนกลาง ในอำเภอ มะตะเล ประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นทั้งปราสาทและป้อมปราการในเวลาเดียวกัน มีชื่อเรียกทั้ง “พระราชวังลอยฟ้า” หรือ “อนุสรณ์สถานเมืองคนบาป” จากประวัติของพระโอรสในสนมของพระเจ้าธาตุเสนากษัตริย์แห่งอนุราธปุระ ที่ลงมือฆ่าพระบิดา เพียงเพื่อต้องการพระราชสมบัติ แล้วตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ แล้วหนีมาสร้างวังและป้อมค่ายที่นี่ จนเจ้าชายโมคัลลานะ โอรสที่เกิดจากพระมเหสียกทัพมาสู้รบจนชนะ จึงเปลี่ยนที่นี่ให้เป็นวัดในพุทธศาสนา ช่วงศตวรรษที่ 13-14 ส่วนตนนั้นได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ที่อนุราธปุระ เคยมีช่วงที่สีกิริยา ถูกทิ้งร้างไปจนมีนักโบราณคดีมาค้นพบและได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบันนี้
สีริกริยาเป็นภูเขาหินที่ด้านบนตัดราบ มีบันใดอิฐปูด้วยหินอ่อนขึ้นไปยังยอดเขาเป็นระยะๆ มีราวจับเพื่อความสะดวก รอบเชิงเขาด้านล่างมีคูน้ำล้อมรอบ ในอดีตเคยเลี้ยงจระเข้เพื่อป้องกันศัตรู ถัดมาอีกชั้นมีสระน้ำสำหรับนางกำนัล ขึ้นไประยะหนึ่งจะเป็นสระน้ำของราชวงศ์ ก่อนถึงยอดเขาจะมีภาพเขียนฝาผนังรูปนางกำนัลเปลือยอกราว 20 ภาพ อีกด้านเป็นกำแพงสีส้มขัดเรียบเป็นเงา บนยอดเขามีอ่างเก็บน้ำและเป็นที่ตั้งของพระราชวัง ซึ่งปัจจุบันคงเหลือเพียงฐานราก
สิ่งที่นักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชม นอกจากความงดงามของโบราณสถานที่ยังหลงเหลืออยู่ คือความงามของทัศนียภาพจากมุมสูง ท่ามกลางความเขียวชอุ่มของศรีลังกา
เยือนวัดถ้ำดัมบูล่า
มรดกโลกแห่งล่าสุดในศรีลังกา คือ “วัดถ้ำดัมบูลลา” (Dambulla Cave Temple) ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2534 ตั้งอยู่บนเชิงภูเขาหินสูงกว่า 500 ฟุต
ด้านล่างเป็นที่ตั้งของ “วัดทองดัมบูลลา” (Golden Temple Dambulla) โดดเด่นและงดงามด้วยพระพุทธรูปสีทององค์ใหญ่อยู่ด้านบนอาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวจะแวะก่อนขึ้นไปยังตัวถ้ำด้านบน
วัดถ้ำดัมบูลลา สร้างโดยพระเจ้าวาลากัมบา (Walagambahu) พระองค์ทรงเคยพำนักในถ้ำที่ดัมบูลลา ช่วงที่พระองค์เสด็จพลัดถิ่นจากเมืองอนุราธปุระ เพื่อเป็นการตั้งหลักก่อนที่จะรวบรวมไพร่พลกลับไปรบกันอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงรบชนะ และเสด็จกลับขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงสร้างวิหารศิลาภายในถ้ำแห่งนี้
องค์ประกอบหลักๆ ของถ้ำดัมบูลลาจะแบ่งเป็น 5 ถ้ำที่มีขนาดแตกต่างกันไป ถ้ำที่ 1 ชื่อ “เทวราช” ด้านในบรรจุพระรูปปางปรินิพพานแกะสลักจากหินอ่อนยาว 49 เมตร ถ้ำที่ 2 ชื่อ “มหาราชา” ซึ่งมีขนาดใหญ่ ประดิษฐานรูปเหมือนของพระเจ้าพระเจ้าวาลากัมบา มีสถูปขนาดเล็ก พระพุทธไสยาสน์ และพระพุทธรูปอีกมากมายหลายสิบองค์ ถ้ำที่ 3 ชื่อ “มหาอลุต” ภายในประดิษฐานพระนอนขนาดใหญ่ รวมทั้งพระพุทธรูปประทับนั่งและยืนอีกมากมาย ถ้ำที่ 4 ชื่อ “ภัคชิมา” เป็นถ้ำที่มีขนาดเล็ก ส่วนถ้ำที่ 5 ชื่อ “เทวานะ อลุต” สร้างขึ้นเป็นถ้ำสุดท้าย แต่ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็น ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระนอนขนาดใหญ่
สักการะพระเขี้ยวแก้ว
พระทันตธาตุเขี้ยวแก้ว คือหนึ่งในพระบรมสารีรักธาตุที่เหลืออยู่หลังถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า พระทันตธาตุเขี้ยวแก้วที่ศรีลังกา ได้รับการอัญเชิญมาจากแคว้นกลิงคของอินเดีย โดยเจ้าหญิงเหมมาลาได้อัญเชิญไว้บนมวยผม เมื่อมาถึงศรีลังกาได้ถวายให้พระเจ้าสิริวรรณ ผู้ครองเมืองอนุราธปุระ ซึ่งครั้งนั้น พระเจ้าสิริวรรณมีพระดำริรับสั่งให้จัดงานถวายเป็นพุทธบูชา โดยให้จัดขบวนแห่พระทันตธาตุจากวิหารที่ประดิษฐานไปทั่วเมือง
“วัดดาลามา มาลิกาวะ” (Dalada Maligawa) เป็นสถานที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว จึงได้รับการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดพระเขี้ยวแก้ว” (Temple of the Tooth) ตั้งอยู่ในนครศักดิ์สิทธิ์แคนดี้ (Kandy) ซึ่งเป็นนครหลวงแห่งสุดท้ายของของราชอาณาจักรสิงหลก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ด้วยความสวยงามของเมืองแคนดี้ ซึ่งมีภูเขาล้อมรอบ สามารถมองเห็นทะเลสาบที่สวยงาม จึงเป็นอีกเมืองที่ได้รับความนิยมด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ภูมิประเทศเมืองนี้มีภูเขาล้อมรอบมองลงมาเห็นทะเลสาบที่สวยงาม องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แห่งสยามประเทศ ก็เคยเสด็จประพาสเมืองแห่งนี้มาแล้ว
ทั้งนี้ ในแต่ละปีจะมีพิธีจัดขบวนแห่พระทันตธาตุไปทั่วเมืองเป็นเวลา 10 วัน ในช่วงพระจันทร์เต็มดวงของเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม
ตามรอยเสด็จพระพุทธเจ้าที่วัดกัลยาณี
“วัดเกลานิยา” หรือที่เรียกติดปากคนไทยว่า “วัดกัลยาณี” อยู่ห่างจากกรุงโคลัมโบออกไป 13 กิโลเมตร หนึ่งในสถานที่สำคัญเมื่อมาเยือนศรีลังกา เนื่องจากเชื่อกันว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์อีก 500 รูป เคยเสด็จมายังวัดแห่งนี้ในวันวิสาขบูชา ตามคำเชิญของเจ้าผู้ครองแคว้นกัลยาณี ซึ่งเป็นพญานาค นามว่า มณีอัคขิกะ (King Maniakkhika)
พระเจดีย์ทรงระฆังคว่ำสีขาวขนาดใหญ่ โดดเด่นเป็นสง่าอวดสายตานักท่องเที่ยวผู้มาเยือน พุทธศาสนิกชน หลั่งไหลเข้ามากราบสักการะ เนื่องจากชาวพุทธในศรีลังกาเชื่อว่า นี่คือเจดีย์ที่บรรจุพระแท่นบัลลังก์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยประทับ โดยมีจิตรกรรมภาพเขียนฝาผนังมากมายภายในพระวิหาร เล่าเรื่องราวเมื่อเมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาศรีลังกาใน 3 ครั้ง
กิจกรรมพิเศษที่จะจัดขึ้นทุกปี ในคืนก่อนคืนวันพระจันทร์เต็มดวงของเดือนมกราคม คือ พิธีแห่พระสารีริกธาตุประจำปีของวัด โดยในขบวนแห่จะมีช้างหลายสิบเชือกเข้าร่วมขบวน พร้อมขบวนนักเต้นรำสไตล์ศรีลังกา ที่สร้างสีสันสดใสสวยงามแปลกตา เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว
ชิมชาซีลอนเอกลักษณ์จากหุบเขา
เดิมทีชาวศรีลังกาไม่ได้มีวัฒนธรรมการดื่มชา แต่เคยมีช่วงหนึ่งที่เคยเกิดโรคระบาดในกาแฟ จึงหันมาปลูกชาแทน อีกทั้งศรีลังกาเคยผ่านยุคล่าอาณานิคมและตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษมาก่อน จึงได้รับวัฒนธรรมการดื่มชามาด้วย จากนั้นการปลูกชาจึงเป็นที่นิยมทั่วไปในศรีลังกา ด้วยสภาพพื้นที่และอากาศที่อำนวยของหุบเขา
เช่นที่เมือง “นูวารา เอเลีย” (Nuwara Eliya) ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงทางตอนกลางของประเทศศรีลังกา บนความสูง 1,868 เมตรเหนือระกับน้ำทะเล ทำให้มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี เหมาะต่อการปลูกชา รวมทั้งชาซีลอน (Ceylon Tea) อีกหนึ่งเอกลักษณ์ของศรีลังกา
หรือจะเป็นเมืองเล็กๆ อย่าง “ฮาปูตาเล” (Haputale) ในเขตบาดุลลา (Badulla) ในจังหวัดอูวา (Uva) ประเทศศรีลังกา เมืองภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1,400 กิโลเมตร เป็นอีกสถานที่ที่มีชื่อเสียงการปลูกชาของศรีลังกา
แต่นักท่องเที่ยวสามารถลิ้มลองรสของชาซีลอนได้ในทุกพื้นที่ของศรีลังกา เพราะจะมีร้านชาและการเสิร์ฟชาอย่างแพร่หลาย (พี่เอกสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนนี้จากประสบการณ์จริงได้นะคะ)
รัตนปุระ เมืองแห่งอัญมณี
นอกจากชา จะเป็นสินค้าขึ้นชื่อของศรีลังกาแล้ว ยังมีเมืองที่มีความโดดเด่นทางด้านการทำพลอยอย่างเมือง “รัตนปุระ” (Ratnapura) ในจังหวัดซาบารากามูวา (Sabaragamuwa) ซึ่งมีชื่อเสียงด้านอัญมณี แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่งของศรีลังกา
เมืองรัตนปุระ เป็นแหล่งที่มาของไพลิน หรือหินสีน้ำเงิน รู้จักกันในนาม Ceylon Sapphire ที่เมืองแห่งนี้เป็นแหล่งการทำเหมืองแร่อัญมณี ไม่เฉพาะไพลินเท่านั้น แต่รวมไปถึงพลอยหลากหลายชนิด อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักกันในเรื่องของการปลูกข้าว ผลไม้ รวมไปถึงสวนยางพารา และไร่ชาที่กระจายไปทั่วเมือง รวมทั้งเป็นอีกเมืองที่มีพุทธสถานอยู่มากมายอีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจหาซื้อพลอย สามารถมาเยือนเมืองรัตนปุระ หรือเลือกชมในร้านค้าขายพลอยที่หาได้ไม่ยากในเมืองต่าง ๆ ของศรีลังกา
เป้าหมายของนักท่องเที่ยวหลายท่าน คือการได้มาเยือนดินแดนแห่งพุทธศาสนาในศรีลังกา แต่นอกจากความงดงามและทรงคุณค่าของโบราณสถานต่างๆ แล้ว ยังจะได้พบเห็นความงดงามของประเพณี วิถีชีวิต พร้อมด้วยธรรมชาติอันงดงามและบริสุทธิ์ ทำให้ศรีลังกาเป็นอีกเป้าหมายที่น่าไปเยือนเสมอ
เราสามารถเลือกไป ทัวร์ศรีลังกาแบบหมู่คณะหรือแบบ แพคเกจศรีลังกาซึ่งสามารถเลือกเดินทางเองได้ทุกวัน
พรีมา คอนเนคชั่น ให้บริการทัวร์ศรีลังกามาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ติดตามเราได้ทาง facebook